วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บทนำ

ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ดังคำที่กล่าวกันมาช้านานว่า“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ปัจจุบันแม้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปจากอดีตอาชีการเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ และประมง ยังคงมีอยู่คู่คนไทย แต่วิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง เช่น การเลี้ยงปลาที่มิใช่เพียงเพื่อการบริโภคหากยังนำลักษณะเด่นและสวยงามของพันธุ์ปลาบางชนิดมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั้งเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินและเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพแล้วส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและนำเงินเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

ประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามไปสู่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปลาสวยงามน้ำจืดเขตร้อนร้อยละ 75มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆปลาสวยงามที่ส่งออกไปขายต่างประเทศมีทั้งพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยและพันธุ์ปลาสายพันธุ์ต่างประเทศที่นำเข้ามาเพื่อเพาะเลี้ยงแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ชนิดปลาสวยงามของไทยที่เป็นที่รู้จักกันมาช้านานและสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย มีหลายชนิด เช่น ปลากัด ทรงเครื่อง กาแดง ก้างพระร่วง ซิวข้างขวาน ซิวหางกรรไกร น้ำผึ้ง ปล้องอ้อย เสือตอ เสือพ่นน้ำ หางไหม้ ตะเพียนทอง กระแห เป็นต้น โดยเฉพาะปลากัดเป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลกในชื่อ “Siamese fighting fish” และเกษตรกรไทยมีความรู้ความชำนาญในเรื่อง การคัดและปรับปรุงสายพันธุ์ปลากัดจนได้ความหลากหลายของสายพันธุ์ เป็นที่นิยมกันทั่วโลก เช่น ปลากัดครีบยาว (Long- finned) หางสามเหลี่ยม (Delta-tailed) หางมงกุฏ (Crowntailed)หางพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Halfmoon-tailed) 2 หาง (Double-tailed) เป็นต้น

ปลาสวยงามของไทยหลายชนิดที่ตลาดต่างประเทศนิยมเลี้ยง เป็นปลาที่รวบรวม จากแหล่งน้ำธรรมชาติ พันธุ์ปลาบางชนิดอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อการเพาะพันธุ์และยังผลิตได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เช่น ก้างพระร่วง ซิวข้างขวาน และ ปล้องอ้อย ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้มีอยู่ใน8 100 ชนิด ปลาสวยงามของไทยแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยต่อไป โดยการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติและมีการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ปลาสวยงามไทยหลายชนิดที่เกษตรกรของไทยมีความชำนาญในการเพาะพันธุ์และกรมประมงได้มีการปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทรงเครื่อง กาแดง น้ำผึ้ง หางไหม้ ตะเพียนทอง กระแห เป็นต้น 

ชนิดปลาสวยงามที่นำมาเสนอต่อไปนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลของปลาโดยจัดเรียงตามลำดับของวงศ์ (Family) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปลาไทยสวยงามที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันและยังมีอีกจำนวนมากที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป




ขอบคุณผู้งเรียบเรียง

- สุจินต์ หนูขวัญ
- อรุณี รอดลอย
ขอบคุณภาพประกอบจาก
- อรุณี รอดลอย ชาญทอง ภู่นิยม
- ชวลิต วิทยานนท์ นณณ์ ผาณิตวงศ์

กระสูบขีด กระสูบ สูด






ชื่อไทย : กระสูบขีด กระสูบ สูด

ชื่อสามัญ : Banded shark, Transverse-bar barb, Hampala barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hampala macrolepidota Kuhl & Van Hasselt, 1823

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำ หนอง บึง ในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างกลมเพรียวยาวแบนข้างเล็กน้อยด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ลำตัวสีขาวเงินส่วนหลังมีสีคล้ำครีบมีสีแดงเรื่องขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 25 ซม. ในปลาขนาดเล็กมีแถบ2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดกลางว่ายน้ำรวดเร็วมีสีสันสวยงาม อุปนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวเลี้ยงรวมกับพันธุ์ปลาชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันได้

ทรงเครื่อง






ชื่อไทย : ทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ : Redtail sharkminnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Epalzeorhynchos bicolor (Smith, 1931)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : พบชุกชุมในแม่น้ำสายหลักทั่วทุกภาค

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวกลม ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเทาเข้มถึงดำ ท้องสีจาง ครีบดำหรือคล้ำ ยกเว้นครีบหางสีแดงสด ครีบหางเว้าลึกขนาดเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 10-12 ซม.

อาหาร : สารอินทรีย์เล็กๆตะไคร่น้ำและตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นในตู้ปลาที่มีพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบและเล็มกินตะไคร่น้ำและเศษสารอินทรีย์ในตู้ปลาเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกเพราะมีรูปร่างปราดเปรียวลำตัวสีดำคล้ำตัดกับสีแดงของครีบหาง ทำให้มองดูสวยเด่นสะดุดตา มีชื่อเรียกกันอีกชื่อว่า“ฉลามหางดำ”

ซิวใบไผ่ ซิวใบไผ่ราชินี จุกกี






ชื่อไทย : ซิวใบไผ่ ซิวใบไผ่ราชินี จุกกี

ชื่อสามัญ : Blue danio

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Devario regina (Fowler, 1934)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : น้ำตก ลำธาร ลำห้วย บริเวณใกล้น้ำตกทั่วไป

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวกลมเรียวยาวพื้นลำตัวมีสีเทาอ่อน มีเส้นสีเหลืองเข้ม 2 เส้นชัดเจนยาวตลอดลำตัว กลางตัวเป็นสีเหลือบฟ้า ท้องสีขาววาวด้านบนสีเหลืองคล้ำ มีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ที่ช่องเปิดเหงือกครีบหางใหญ่และเว้าตื้น ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลง

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

ช่อนงูเห่า ช่อนดอกจันทร์






ชื่อไทย : ช่อนงูเห่า ช่อนดอกจันทร์

ชื่อสามัญ : Great snakehead

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa marulia (Hamilton, 1822)

ชื่อวงศ์ : Channidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำสายใหญ่ๆของประเทศไทยและยังพบในประเทศอื่นๆตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงประเทศจีน

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวรูปทรงกระบอกส่วนหัวจะเรียวแหลมกว่าปลาช่อน สีลำตัวจะแตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่โดยทั่วไปมักมีสีคล้ำ เช่น ดำ น้ำตาลอมเทาหรือเทาอมเขียว ในขณะปลาอายุจะมีแถบสีส้มสดพาดไปตามความยาวลำตัวถึงโคนหางเมื่อปลาเจริญขึ้นอีกระยะหนึ่งจะมีแถบสีดำ 5-6 แถบอยู่บริเวณใต้เส้นข้างตัวบริเวณท้องจะมีส้มบริเวณฐานะเกล็ดจะมีสีคล้ำ บริเวณส่วนท้ายของลำตัวครีบหางและครีบก้นจะมีจุดสีขาว บริเวณโคนครีบหางหรือส่วนต้นของครีบหางมีจุดสีดำที่มีขอบขาวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้และทำให้ได้ชื่อว่า “ช่อนดอกจันทร์” ครีบหลังและครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางกลม ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 35 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำอื่นๆที่มีขนาดเล็กกว่า

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ที่ตกแต่งด้วยก้อนหินขอนไม้ อุปนิสัยชอบนอนนิ่งๆบนขอนไม้

แป้นแก้วยักษ์





ชื่อไทย : แป้นแก้วยักษ์

ชื่อสามัญ : Duskyfin glassy perchlet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parambassis wolffi i (Bleeker, 1851)

ชื่อวงศ์ : Ambassidae

ถิ่นอาศัย : ลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา แม่น้ำโขง และในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน และ อินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโตปากกว้าง ขากรรไกรล่างยื่นยาว ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึกครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวมัก
มีสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงินมีขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : จุลินทรีย์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำนิยมนำมาฉีดสีสะท้อนแสงเข้าบริเวณข้างลำตัวเพื่อให้มีสีสันสวยงามแล้วส่งขายต่างประเทศ