วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ซิวข้างขวานเล็ก






ชื่อไทย : ซิวข้างขวานเล็ก

ชื่อสามัญ : Lambchop rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonostigma espei (Meinken, 1967)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำไหลเชี่ยวในภาคใต้ป่าพรุโต๊ะแดงจังหวัดนราธิวาสและบริเวณน้ำตกในภาคตะวันออกของไทย

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาขนาดเล็ก พื้นลำตัวสีเทาเงินกลางลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดงและกึ่งกลางลำตัวถึงโคนครีบหางมีแถบสามเหลี่ยมสีดำโดยฐานสามเหลี่ยมอยู่ที่กึ่งกลางลำตัวปลายสามเหลี่ยมเรียวเล็กไปทางโคนหางลักษณะคล้ายขวาน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีก้านครีบบางส่วนเป็นสีแดงอ่อนหรือสีส้มโคนครีบหางก็มีสีแดงอ่อนหรือสีส้มปลาตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมียและขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวเมียขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 2.5 ซม. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงว่ายน้ำตลอดเวลา

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำ และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดต่างประเทศ

Scissortail rasbora, Three-lined rasbora





ชื่อสามัญ : Scissortail rasbora, Three-lined rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rasbora trilineata Steindacher, 1870

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : อาศัยเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กลองกับแม่น้ำโขงและภาคใต้ จนถึงอินโดนีเซียพบบ่อยในพื้นที่พรุ

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวและแบนข้างเล็กน้อยส่วนหัวและปากมีขนาดเล็กไม่มีหนวดลำตัวมีสีเขียวอ่อน ส่วนล่างของลำตัวมีสีซีดกว่าบริเวณด้านข้างและด้านหลังของลำตัวกลางลำตัวมีแถบสีดำพาดจากหัวถึงโคนหางและยาวเลยไปถึงส่วนของก้านครีบหางด้วยเหนือแถบสีดำมีแถบสีเงินเล็กๆข้างละ 1 แถบพาดขนานไปกับแถบสีดำนี้เหนือฐานครีบก้นมีแถบสีดำเล็กๆข้างละแถบ ตอนปลายของแถบทั้งสองนี้จะไปชนกันบริเวณปลายฐานครีบก้นแล้วยาวเลยไปถึงโคนครีบหางปลาชนิดนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ครีบหางเนื่องจากมีแถบสีดำพาดขวางแพนหางทั้งบนและล่างซึ่งแถบสีดำนี้อยู่ค่อนไปทางส่วนปลายของแพนหางขอบในและขอบนอกของแถบสีดำนี้มีแถบสีขาวพาดขนานคู่กันไปอีกด้วยสีดำและสีขาวนี้จะตัดกับสีเหลืองอ่อนซึ่งเป็นสีพื้นของครีบหางสวยสะดุดตามากครีบหลังมีก้านครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนครีบก้นครีบท้องและครีบอกใสไม่มีสีขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 13 ซม.ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ

แขยงนวล






ชื่อไทย : แขยงนวล

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mystus wolf fi (Bleeker, 1851)

ชื่อวงศ์ : Bagridae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตาปีและในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งในบริเวณแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดเล็กมีรูปร่างค่อนข้างสั้นส่วนหัวโตปากเล็กมีหนวด 4 คู่ ครีบอกและครีบหลังเป็นก้านแข็งครีบไขมันค่อนข้างสั้นครีบหางเว้าลึกลำตัวมีสีเทาเขียวมะกอกหรือเหลืองทองด้านท้องสีเขียวอ่อน ขนาดที่พบใหญ่สุด 20 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม.
อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ร่วมกับปลาไม่มีเกล็ดชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันจัดตู้โดยวางวัสดุตกแต่งประเภทก้อนหินหรือขอนไม้เพื่อให้มีที่หลบซ่อน

แก้มช้ำ





ชื่อไทย : แก้มช้ำ

ชื่อสามัญ : Red-cheek barb, Javaen barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Puntius orphoides (Valenciennes, 1842)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำ สาขาของแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำที่มีทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำทุกภาคของประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวรีแบนข้างงเล็กน้อยเกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวและท้องมีสีขาวเงินด้านหลังสีน้ำตาลหรือสีน้ำเงิน ขอบหลังของกระพุ้งแก้มมีรอยสีแดงเรื่อๆหลังช่องเหงือกมีแถบหรือแต้มสีดำด้านละ 1 แถบ มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังครีบท้องและครีบก้นสีแดงเข้ม ครีบอกสีส้มอ่อนหรือสีเหลืองอมส้มครีบหางสีแดงขอบบนและขอบล่างของแพนหางมีแถบสีดำมีจุดสีดำที่โคนหางข้างละ 1 จุด ขนาดใหญ่สุดมีความยาวประมาณ 25 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำ และตัวอ่อนแมลงน้ำบางชนิด

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยขอนไม้ไม่ใส่พรรณไม้น้ำเพราะเป็นปลาที่ชอบกินพืชน้ำเลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้

แรด แรดเผือก





ชื่อไทย : แรด แรดเผือก

ชื่อสามัญ : Giant gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osphronemus goramy Lacepède, 1801

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : อ่างเก็บน้ำแม่น้ำสายใหญ่ๆและสาขาทุกภาคของไทย ประเทศอินโดนีเซียและหมู่เกาะอินเดียตะวันออก

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวลึกและแบนข้างมากหัวค่อนข้างเล็กจะงอยปากแหลมขากรรไกรล่างยื่นกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อยมีฟันซี่เล็กๆบนขากรรไกรบนและล่างครีบหลังและครีบก้นยาวมากมีเกล็ดบนฐานครีบ ความสูงของก้านครีบบริเวณตอนปลายของครีบทั้งสองจะสูงกว่าตอนต้นของครีบ ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนอันแรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว อาจจะยาวถึงหรือยาวเลยปลายครีบหางครีบหางกลมขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 30 ซม

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ พันธุ์ไม้น้ำและซากพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยขอนไม้