วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

หมอแคระแม่น้ำแคว





ชื่อไทย : หมอแคระแม่น้ำแคว

ชื่อสามัญ : Khwae badis

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Badis khwae Kullander & Britz, 2002

ชื่อวงศ์ : Badidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะลำตัวเพรียวยาว แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมขาว มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลังและครีบก้นยาวเลยโคนหาง ครีบทุกครีบมีสีเหลืองอมส้ม ครีบหลังมีแถบสีดำตามความยาวครีบ และมีแต้มสีดำบริเวณโคนครีบ ขอบครีบขาว ครีบก้นมีลักษณะคล้ายครีบหลังแต่ไม่มีแต้มสีดำ ครีบหางกลมปลายตัด มีแถบสีดำพาดขวาง โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

เฉี่ยวหิน






ชื่อไทย : เฉี่ยวหิน

ชื่อสามัญ : Moon fi sh, Silver moony

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758)

ชื่อวงศ์ : Monodactylidae

ถิ่นอาศัย : ปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยปลาเฉี่ยวหินเป็นปลาสองน้ำเมื่อยังเล็กสามารถเลี้ยงในน้ำจืดเติมเกลือเล็กน้อยแต่ปลาที่โตขึ้นจะต้องการน้ำที่มีความเค็มมากขึ้นและจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ในน้ำที่มีความเค็มใกล้เคียงกับน้ำทะเล

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างแบน ลำตัวแบนข้างมากหัวเล็กปากเฉียงขึ้นฟันเล็กละเอียดนัยน์ตาโตครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ในแนวเดียวกันพื้นลำตัวสีขาวเงินด้านหลังมีสีเขียวแกมเหลืองมีแถบดำพาดผ่านตา ครีบหลังเหลืองหรือส้มขอบคล้ำ ครีบก้นมีแถบดำ ครีบหางมีสีเหลืองจางๆ ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 22 ซม.

อาหาร : กุ้ง แมลง

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดกลาง ตกแต่งด้วยก้อนหินและขอนไม้

เสือพ่นน้ำ เสือ






ชื่อไทย : เสือพ่นน้ำ เสือ

ชื่อสามัญ : Archer fish, Largescale archer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toxotes chatareus (Hamilton, 1822)

ชื่อวงศ์ : Toxotidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและแหล่งน้ำที่มีทางติดต่อกับทะเล อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่เป็นน้ำกร่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสั้นป้อมแบนข้างมาก แนวสันหลังจากจะงอยปากถึงหน้าครีบหลังเกือบเป็นเส้นตรง ปากเฉียงขึ้นข้างบน ตาอยู่ใกล้แนวสันหลังมีรอยประสีดำบริเวณส่วนครึ่งบนลำตัว 5-6 แต้ม ขอบครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 25 ซม. เป็นปลาที่ชอบว่ายอยู่ผิวน้ำ มีความสามารถพ่นน้ำไปได้ไกลๆเพื่อล่าแมลงต่างๆมาเป็นอาหาร การพ่นน้ำทำได้โดยแรงกดดันอย่างรวดเร็วของแผ่นปิดเหงือกและร่องแคบๆใต้เพดานปาก เมื่อพ่นน้ำโดนแมลงจนตกลงไปในน้ำจึงจะว่ายไปกินอย่างรวดเร็ว

อาหาร : แมลงน้ำ แพลงก์ตอน ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำ สามารถเลี้ยงและให้พ่นน้ำจับแมลงในบ่อแบบ touch pool หรือในตู้ได้

กริมสี







ชื่อไทย : กริมสี

ชื่อสามัญ : Pygmy gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichopsis pumila (Arnold, 1936)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำ ตั้งแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำโขงตอนล่างและบริเวณพรุในภาคตะวันออก

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวเรียว ปากเล็ก ตาโต เกล็ดเล็ก ครีบหลังเรียวครีบหางปลายแหลมมีก้านครีบเป็นเส้นเรียว ครีบก้นมีฐานครีบยาวครีบท้องเป็นเส้นยาว ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีคล้ำพาดตามยาวตั้งแต่ปลายปากถึงโคนหาง มีจุดประสีแดงส้ม หรือน้ำตาลแดงบนครีบต่างๆและลำตัวและมีจุดเหลือบสีฟ้าสดหรือเขียวอ่อนบนลำตัวขอบตามีสีฟ้าวาว ด้านท้องสีจาง ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ4.5 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก ที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ



กัด กัดภาคกลาง






ชื่อไทย : กัด กัดภาคกลาง

ชื่อสามัญ : Siamese ghting fi sh

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betta splendens Regan, 1910

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : พบทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึงแอ่งน้ำลำคลอง และกระจายทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวทรงกระบอกและแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากเล็ก ครีบหางใหญ่และปลายกลม ครีบท้องเป็นเส้นยาว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบแดง น้ำเงิน หรือเขียว ครีบสีแดงมีแถบสีเหลืองประ ตัวผู้สีสันสดใสกว่าตัวเมียปัจจุบันมีการคัดพันธุ์จนมีลักษณะครีบ และสีที่หลากหลายได้รับความนิยมสูงในตลาดต่างประเทศ เช่น ประเภทสองหาง หางมงกุฎ หางพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวหรือประเภทสองสี และหลายสีเป็นต้น ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 5 ซม

อาหาร : ไรน้ำ ลูกน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงเฉพาะตัวผู้ เนื่องจากลำตัวและครีบต่าง ๆ มีสีสัน       สวยงาม เลี้ยงในโหลขนาดเล็กโหลละตัว หากวางโหลใกล้กันจะแผ่กางครีบเพราะเป็นปลาที่มีนิสัยชอบการต่อสู้ เป็นปลาสวยงามที่มูลค่าสูงและมีชื่อเสียงของประเทศไทย

ซิวข้าวสาร




ชื่อไทย : ซิวข้าวสาร

ชื่อสามัญ : Dwarf medaka

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryzias minutillus Smith, 1945

ชื่อวงศ์ : Adrianichthyidae

ถิ่นอาศัย : อาศัยเป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่งที่มีหญ้าและพรรณพืชน้ำหนาแน่นรวมถึงพื้นที่ป่าพรุ

ลักษณะทั่วไป : มีรูปร่างลำตัวยาวเรียว ตาโต จะงอยปากเรียว ปากเล็ก ครีบมีขนาดเล็ก

ตัวใสมีสีน้ำตาลอ่อน : ส่วนรอบตาและท้องมีเหลือบสีฟ้าเงิน ตัวผู้มักมี

ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย : ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1.8 ซม.

ขนาดเฉลี่ยความยาว : ประมาณ 1.5 ซม.ถูกจับรวบรวมเป็นปลาสวยงามเป็นครั้งคราวใช้ชื่อการค้าว่าBlue eye Rice fish หรือ Medaka

อาหาร : แพลงก์ตอน

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำ