วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

รากกล้วย ซ่อนทราย






ชื่อไทย : รากกล้วย ซ่อนทราย

ชื่อสามัญ : Horseface loach, Long-nose loach

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acantopsis choirorhynchos (Bleeker, 1854)

ชื่อวงศ์ : Cobitidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำลำธารหรืออ่างเก็บน้ำทุกภาคของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียอินโดนีเซียและพม่า

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาวตามแนวสันหลังมีแถบสั้น ๆ สีน้ำตาลดำพาดขวางประมาณ 10 แถบตามแนวเส้นข้างตัวมีแถบสีน้ำตาลขนาดเล็กพาดไปตามความยาวลำตัวข้างละ 1 แถบ มีจุดสีน้ำตาล 8-12 จุด เรียงไปตามความยาวของแนวเส้นข้างตัว หัวมีขนาดใหญ่เรียวแหลมและแบนข้างตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัวบริเวณหน้าตามีหนามแหลมเล็กๆปลายแยกเป็นสองแฉกซ่อนอยู่ในร่องใต้ผิวหนังจะงอยปากค่อนข้างยาวแหลมและงุ้มต่ำมีหนวดสั้นๆ3 คู่ ครีบหลังและครีบหางมีสีน้ำตาลอ่อนครีบอื่นๆใสไม่มีสีครีบต่างๆไม่มีก้านครีบแข็งครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-4 อัน ก้านครีบแขนง 10 อัน ครีบก้นมีขนาดเล็กครีบหางเว้าไม่ลึก 8-10 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ25 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอน ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กร่วมกับปลาชนิดอื่นที่ไม่ก้าวร้าว อุปนิสัยชอบนอนนิ่ง ๆ
บนพื้นทราย

กระทุงเหว กระทุงเหวเมือง สบธง







ชื่อไทย : กระทุงเหว กระทุงเหวเมือง สบธง

ชื่อสามัญ : Freshwater gar fish, Round-tail garfi sh

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xenentodon cancila (Hamilton.1822)

ชื่อวงศ์ : Belonidae

ถิ่นอาศัย : ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำ

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอกเกล็ดเล็กจะงอยปากยื่นยาวแหลมตอนปลายของจะงอยปากมีสีแดงเป็นแต้มมีฟันซี่แหลมเล็กบนขากรรไกรทั้งสองครีบอกใหญ่ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระโดดพ้นผิวน้ำได้ครีบท้องเล็กครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อยตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดงลำตัวของปลากระทุงเหวมีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองขุ่นด้านบนมีสีเขียวอ่อนด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหางครีบใสด้านท้องสีขาว ปลาวัยอ่อนมีลายประสีคล้ำบนตัวขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 25 ซม. มักว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำและว่องไวมาก

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้งและแมลง มักจะใช้จะงอยปากคีบจับอย่างว่องไว

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดกลางที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ

ก้างพระร่วง





ชื่อไทย :ก้างพระร่วง

ชื่อสามัญ : Glass cat fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kryptopterus bicirrhis (Valenciennes, 1840)

ชื่อวงศ์ : Siluridae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำไหล แหล่งน้ำตามธรรมชาติในภาคกลางพบที่จังหวัดนครนายก
จันทบุรี และตราด ทางภาคใต้พบแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวแบนข้าง มีหนวด 2 คู่หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบนมีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้นอยู่บนขากรรไกรล่างครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็นครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหางหัวมีขนาดเล็กจะงอยปากสั้นตากลมโตเนื้อปลาจะมีลักษณะโปร่งแสงทำให้มองเห็นก้างภายในตัวได้อย่างชัดเจนเฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสงขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 8 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : ไรน้ำแพลงก์ตอนสัตว์

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงปัจจุบันการส่งออกยังมีการรวบรวมจากธรรมชาติเนื่องจากไม่สามารถเพาะพันธุ์ให้ได้ในปริมาณมาก

หนวดพราหมณ์






ชื่อไทย : หนวดพราหมณ์

ชื่อสามัญ : Paradise thread fin

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polynemus paradiseus Linnaeus, 1758

ชื่อวงศ์ : Polynemidae

ถิ่นอาศัย : พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : มีส่วนหัวขนาดเล็กตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุมปากกว้างมีฟันซี่เล็กละเอียดบนขากรรไกรลำตัวแบนข้างครีบอกยาวส่วนที่เป็นเส้นยาวมีความยาวมากกว่าลำตัวถึง 2 เท่าโดยเฉพาะเส้นบนมีทั้งหมดข้างละ 10 เส้น ครีบหางเว้าลึกปลายแหลมเกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลามตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อหัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อครีบสีจางด้านท้องสีจางขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่เพราะต้องการพื้นที่ในการว่ายน้ำมากเป็นปลาสวยงาม
ที่มีความโดดเด่นบริเวณครีบอกที่เป็นเส้นยาวออกมาตลาดต่างประเทศมีความต้องการแต่ยังมีปัญหาเรื่องการขนส่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความระมัดระวังในการส่งออก

กริมสี







ชื่อไทย : กริมสี

ชื่อสามัญ : Pygmy gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichopsis pumila (Arnold, 1936)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำตั้งแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำโขงตอนล่างและบริเวณพรุในภาคตะวันออก

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวแบนข้างส่วนหัวเรียว ปากเล็ก ตาโต เกล็ดเล็ก ครีบหลังเรียวครีบหางปลายแหลมมีก้านครีบเป็นเส้นเรียวครีบก้นมีฐานครีบยาวครีบท้องเป็นเส้นยาวลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีคล้ำพาดตามยาวตั้งแต่ปลายปากถึงโคนหางมีจุดประสีแดงส้มหรือน้ำตาลแดงบนครีบต่างๆและลำตัว และมีจุดเหลือบสีฟ้าสดหรือเขียวอ่อนบนลำตัวขอบตามีสีฟ้าวาวด้านท้องสีจางขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ4.5 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ