วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ซิวแถบเหลือง ซิวแถบทอง

  



ชื่อไทย : ซิวแถบเหลือง ซิวแถบทอง

ชื่อสามัญ : Redstripe rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rasbora pauciperforata Weber & de Beaufort, 1916

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : พบที่พรุคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพรุโต๊ะแดง จนถึงประเทศมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : มีรูปร่างลำตัวคล้ายกับปลาซิวผอมแต่ป้อมสั้นกว่า เกล็ดใหญ่ ครีบหลังและครีบก้นสั้นกว่าของปลาซิวผอม หัวและลำตัวมีสีเหลืองและมีแถบสีทองกับสีดำพาดตั้งแต่ส่วนท้ายของหัวด้านบนโดยแถบสีทองอยู่ด้านบนพาดกลางลำตัวมาจนถึงโคนครีบหาง ท้องและแก้มสีเงินวาวด้านล่างลำตัวสีจาง ครีบใส ครีบหลังและครีบหางมีสีเหลืองทองขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ เป็นปลาที่พบน้อยใน
แหล่งน้ำธรรมชาติ




แปบควาย





ชื่อไทย : แปบควาย

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paralaubuca harmandi Sauvage, 1883

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึกมีสีเหลืองอ่อนปลายครีบมีสีเข้ม เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกันขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาในกลุ่มตะเพียน ชอบว่ายเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ


ชะโอนทอง ชะโอน สยุมพร หน้าสั้น





ชื่อไทย : ชะโอนทอง ชะโอน สยุมพร หน้าสั้น

ชื่อสามัญ : Butter cat fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ompok bimaculatus (Bloch, 1797)

ชื่อวงศ์ : Bagridae

ถิ่นอาศัย : ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่กลอง จันทบุรี พัทลุง

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลและเป็นลวดลายจาง ๆ เป็นลักษณะกระดำกระด่าง เหนือครีบอกมีจุดดำขนาดใหญ่ข้างละจุดปากเชิดขึ้น มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวหนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 22 ซม.

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ร่วมกับปลาไม่มีเกล็ดชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันจัดตู้โดยวางวัสดุตกแต่งประเภทก้อนหินหรือขอนไม้และพรรณไม้น้ำเพื่อให้มีที่หลบซ่อน


ช่อนทอง ช่อนเผือก ช่อน






ชื่อไทย : ช่อนทอง ช่อนเผือก ช่อน

ชื่อสามัญ : Snakehead fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa striata (Bloch, 1797)

ชื่อวงศ์ : Channidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวกลมยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ปากกว้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวไปจนเกือบติดครีบหาง ครีบหางกลม พื้นลำตัวสีทอง เป็นปลาสวยงามที่คัดสายพันธุ์มาจากปลาช่อนพื้นเมืองของไทย ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 35 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่ตกแต่งด้วยกรวดแม่น้ำและก้อนหิน

สร้อยขาว





ชื่อไทย : สร้อยขาว

ชื่อสามัญ : Jullien’s mud carp, Siamese mud carp

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Henicorhynchus siamensis (Sauvage, 1881)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงทั่วทุกภาคของประเทศ

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก กึ่งกลางของริมปากล่างมีปุ่มกระดูกยื่นออกมาซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในสกุลนี้ ไม่มีหนวดขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 18 ซม.

อาหาร : พืชน้ำและแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดกลาง สีสันไม่เด่นสะดุดตา จึงควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีสีสัน เช่น ปลากระแห ตะเพียนทอง