วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

เสือป่าพรุ





ชื่อไทย : เสือป่าพรุ

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Puntius hexazona (Weber & de Beaufort, 1912)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : อยู่เป็นฝูงในแหล่งน้ำของพรุตั้งแต่แอ่งน้ำและลำคลองพบเฉพาะในพื้นที่พรุดั้งเดิมและพรุฟื้นตัว ในประเทศไทยพบที่พรุโต๊ะแดงและใกล้เคียงไปจนถึงมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว รวมทั้งประเทศกัมพูชาและเวียดนาม

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างคล้ายปลาเสือข้างลายแต่ลำตัวเรียวยาวกว่า ปากเล็กมีหนวดยาว 1 คู่ ที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ ครีบหลังก้านครีบแข็งที่มีหยักเล็กที่ขอบด้านหลัง ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีส้มอมน้ำตาล มีแถบดำพาดขวางตั้งแต่แนวลูกตาบนลำตัวถึงโคนหาง 6 แถบ แต่ละแถบมีขอบสีจาง ครีบมีสีส้มสดครีบหางสีส้มจาง ขนาดใหญ่สุดพบความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

ซิวสมพงษ์






ชื่อไทย : ซิวสมพงษ์

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonostigma somphongsi (Meinken, 1958)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : -

ลักษณะทั่วไป : เพศผู้มีรูปร่างลักษณะรูปร่างเรียวยาวและมีขนาดเล็กว่าปลาเพศเมียบริเวณลำตัวมีสีเหลืองส้มและลวดลายข้างลำตัวจะเข้มชัดเจนเมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์เพศเมียมีลักษณะรูปร่างป้อมมีสีซีดจางและลวดลายข้างลำตัวไม่ชัดเจนอุปนิสัยชอบว่ายไปมาตลอดเวลาปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำ และตัวอ่อนแมลงน้ำ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่หายากพบน้อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ

จาด






ชื่อไทย : จาด

ชื่อสามัญ : Goldfin tinfoil barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Poropuntius malcolmi (Smith, 1945)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำโขง และแม่น้ำแม่กลอง

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวรีและแบนข้าง เกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาวพื้นลำตัวสีขาวเงินแผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว ครีบหางเว้าลึก ขอบด้านบนสีคล้ำหรือสีแดงส้ม ครีบหลังสูง ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้มขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดกลางว่ายน้ำรวดเร็วเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ เช่น ปลาในกลุ่มปลาตะเพียน

เลียหิน





ชื่อไทย : เลียหิน

ชื่อสามัญ : Stone-lapping minnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garra cambodgiensis (Tirant, 1883)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง น้ำตกหรือลำธาร

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวยาวรูปทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อยหัวโตแบนราบทางด้านล่างปากอยู่ด้านล่างลักษณะเป็นปากดูดมีหนวดที่ปลายปาก1 คู ่ ลำตัวด้านนหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลง ตะไคร่น้ำและสาหร่าย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็ก อุปนิสัยชอบใช้ปากดูดติดกับก้อนหินและดูดกินตะไคร่น้ำ สาหร่าย หรืออินทรียวัตถุต่างๆปลาในกลุ่มนี้ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในธุรกิจสปา เรียกว่า Fish spa หรือ Doctorfish โดยต้นตำรับธุรกิจนี้ใช้ปลาชนิด Garra rufa จากประเทศตุรกีและใประเทศไทยดัดแปลงมาใช้ปลาสกุล Garra ของไทย

หมูลายเสือ






ชื่อไทย : หมูลายเสือ

ชื่อสามัญ : Tiger spiny loach, Tiger botia, Chameleon botia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syncrossus beauforti (Smith, 1931), Botia beauforti Smith, 1931

ชื่อวงศ์ : Cobitidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา แม่น้ำท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง หัวเรียวแหลม ปากแหลม ลำตัวเป็นสีเทาปนเหลืองหรืออมเขียว มีแถบคาดตามลำตัวคล้ายลายเสือและมีจุดดำเรียงเป็นแถวตลอดลำตัว ครีบทุกครีบมีสีเหลืองอมส้มครีบหลังและครีบหางมีสีส้มและมีแถบดำและจุดดำกระจายทั่วหากินตามพื้นท้องงน้ำตามโขดหินและก้อนหินขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 7 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอน ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กร่วมกับปลาชนิดอื่นได้ตกแต่งตู้ด้วยก้อนหินหรือขอนไม้อุปนิสัยมักหลบตามที่หลบซ่อนวัสดุตกแต่งไม่ควรมีรูขนาดเล็กเมื่อปลาตกใจจะมุดเข้าไปติดแล้วออกไม่ได้