วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

เฉี่ยวหิน





ชื่อไทย : เฉี่ยวหิน

ชื่อสามัญ : Moon fi sh, Silver moony

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758)

ชื่อวงศ์ : Monodactylidae

ถิ่นอาศัย : ปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยปลาเฉี่ยวหินเป็นปลาสองน้ำเมื่อยังเล็กสามารถเลี้ยงในน้ำจืดเติมเกลือเล็กน้อยแต่ปลาที่โตขึ้นจะต้องการน้ำที่มีความเค็มมากขึ้นและจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ในน้ำที่มีความเค็มใกล้เคียงกับน้ำทะเล

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างแบนลำตัวแบนข้างมากหัวเล็กปากเฉียงขึ้นฟันเล็กละเอียดนัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน พื้นลำตัวสีขาวเงินด้านหลังมีสีเขียวแกมเหลืองมีแถบดำพาดผ่านตา ครีบหลังเหลืองหรือส้มขอบคล้ำ ครีบก้นมีแถบดำ ครีบหางมีสีเหลืองจางๆขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 22 ซม.

อาหาร : กุ้ง แมลง

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดกลาง ตกแต่งด้วยก้อนหินและขอนไม้

หลด หลดจุด








ชื่อไทย : หลด หลดจุด

ชื่อสามัญ : Spotted spiny eel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macrognathus siamensis (Günther, 1861)

ชื่อวงศ์ : Mastacembelidae

ถิ่นอาศัย : ทุกภาคของประเทศไทย และในประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทาลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือไม่มีหนามแหลมที่กระดูกใต้นัยน์ตาบริเวณฐานของครีบหลังและฐานครีบก้นมีจุดดำขอบขาว แต่จำนวนจุดนี้จะไม่เท่ากันทุกตัว บริเวณฐานครีบหลัง จุดดำนี้จะอยู่เรียงกันเป็นแถวประมาณ 1-5 จุด ส่วนฐานครีบก้น อาจมี 1-2 บนฐานครีบหลังระหว่างจุดดำมีจุดขาวเล็ก ๆ อยู่กระจายเรียงกันเป็นระเบียบคั่นสลับเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในที่กำบัง จะออกจากที่กำบังเมื่อไม่มีแสงสว่างหรือออกมาเพื่อกินอาหารเทา่ นั้น โดยปกติจะมุดลงไปฝังตัวอยู่ตามพื้นโคลนหรือพื้นทรายและโผล่ปลายจะงอยปากขึ้นมาหายใจ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 35 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : ไส้เดือน หนอน กุ้ง แมลงน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกปลาขนาดเล็กที่อยู่ตามหน้าดินและพื้นทราย ปลาหลดชอบออกหากินในเวลากลางคืน

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยกรวดแม่น้ำและก้อนหินเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัว

เข็ม เข็มเผือก







ชื่อไทย : เข็ม เข็มเผือก

ชื่อสามัญ : Freshwater halfbeak, Werstling halfbeak

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dermogenys pusilla Kuhl & van Hasselt, 1823

ชื่อวงศ์ : Hemiramphidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำทั่วๆไปของประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวเกือบกลมมีส่วนแบนตรงโคนหางลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หางสีเหลือง ท้องสีขาวเหลืองฟ้า หัวเล็ก มีจะงอยปากแหลมยื่นยาวออกไป ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางกลมมนมีขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 4 ซม. ปัจจุบันมีการคัดสายพันธุ์เป็นปลาเผือกซึ่งได้รับความนิยมมากเรียกว่า “เข็มเผือก”

อาหาร : แพลงก์ตอน ตัวอ่อนแมลง ชอบว่ายหากินอยู่บริเวณใกล้ผิวน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบว่ายลอยตัวบนผิวน้ำ

หมอตาล







ชื่อไทย : หมอตาล

ชื่อสามัญ : Kissing gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helostoma temminkii Cuvier, 1829

ชื่อวงศ์ : Helostomatidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน

ลักษณะทั่วไป : L รูปร่างป้อมสั้นลำตัวแบนหัวเล็กจะงอยปากสั้นทู่ปากเล็กยืดหดได้ริมฝีปากหนานัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปากมีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : สาหร่ายไรน้ำและแมลงต่างๆ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและขอนไม้

กระทิงไฟ





ชื่อไทย : กระทิงไฟ

ชื่อสามัญ : Fire eel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia Bleeker, 1850

ชื่อวงศ์ : Mastacembelidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียลักษณะทั่วไป มีลำตัวยาวคล้ายงู แบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีดำและแถบสีแดงประมาณ4-5 แถบ พาดตาความยาวลำตัว ยกเว้นส่วนท้ายลำตัวซึ่งแถบสีแดงจะไม่ค่อยติดต่อกันตลอดทำให้ดูมีลักษณะคล้ายจุดสีแดง ครีบหลัง ครีบหาง ครีบอก และครีบก้นมีสีดำ จะงอยปากยื่นยาว ที่ปลายของจะงอยปากมีจมูกลักษณะคล้ายท่อและมีช่องเปิดตรงปลายเป็นปลาขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1 เมตร

อาหาร : กุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยก้อนหินหรือขอนไม้เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัว

ภาพโดย : อรุณี รอดลอย