วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

หมอแคระแม่น้ำแคว






ชื่อไทย : หมอแคระแม่น้ำแคว

ชื่อสามัญ : Khwae badis

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Badis khwae Kullander & Britz, 2002

ชื่อวงศ์ : Badidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะลำตัวเพรียวยาว แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมขาว มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลังและครีบก้นยาวเลยโคนหาง ครีบทุกครีบมีสีเหลืองอมส้ม ครีบหลังมีแถบสีดำตามความยาวครีบ และมีแต้มสีดำบริเวณโคนครีบ ขอบครีบขาว ครีบก้นมีลักษณะคล้ายครีบหลังแต่ไม่มีแต้มสีดำ ครีบหางกลมปลายตัดมีแถบสีดำพาดขวางโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำขนาดเล็กแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็กเลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

เสือพ่นน้ำเสือ





ชื่อไทย : เสือพ่นน้ำเสือ

ชื่อสามัญ : Archer fish, Largescale archer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toxotes chatareus (Hamilton, 1822)

ชื่อวงศ์ : Toxotidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและแหล่งน้ำที่มีทางติดต่อกับทะเล อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่เป็นน้ำกร่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสั้นป้อมแบนข้างมาก แนวสันหลังจากจะงอยปากถึงหน้าครีบหลังเกือบเป็นเส้นตรงปากเฉียงขึ้นข้างบนตาอยู่ใกล้แนวสันหลังมีรอยประสีดำบริเวณส่วนครึ่งบนลำตัว 5-6 แต้ม ขอบครีบหลังและครีบก้นมีสีดำขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 25 ซม. เป็นปลาที่ชอบว่ายอยู่ผิวน้ำ มีความสามารถพ่นน้ำไปได้ไกลๆเพื่อล่าแมลงต่างๆมาเป็นอาหารการพ่นน้ำทำได้โดยแรงกดดันอย่างรวดเร็วของแผ่นปิดเหงือกและร่องแคบๆใต้เพดานปากเมื่อพ่นน้ำโดนแมลงจนตกลงไปในน้ำจึงจะว่ายไปกินอย่างรวดเร็ว

อาหาร : แมลงน้ำแพลงก์ตอนตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำสามารถเลี้ยงและให้พ่นน้ำจับแมลงในบ่อแบบ touch pool หรือในตู้ได้

ปลาปักเป้าซีลอน





ชื่อไทย : ปลาปักเป้าซีลอน

ชื่อสามัญ : Palembang puffer, Figure-eight puffer, Eyespot puffer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetraodon biocellatus Tirant, 1885

ชื่อวงศ์ : Tetraodontidae

ถิ่นอาศัย : ชายทะเลและปากแม่น้ำในเขตน้ำกร่อย

ลักษณะ : รูปร่างหน้าตาจะคล้ายกับปักเป้าเขียวจุดมากแต่มีขนาดเล็กกว่าพื้นลำตัวสีดำหรือน้ำเงินปนดำ บนหลังมีลายเหลืองเป็นรูปเลข 8 ใต้ครีบหลังมีวงกลมเหลืองมุมปากและโคนหางมีจุดดำแห่งละ 1 จุดขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : กุ้ง หอย แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่ตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อให้กินหอยที่ติดมากับพรรณไม้น้ำและแพร่พันธุ์ในตู้ปลาหรือเลี้ยงเพื่อให้กินหอยในบ่อชำน้ำของพรรณไม้น้ำ

กระดี่นางฟ้า





ชื่อไทย : กระดี่นางฟ้า

ชื่อสามัญ : Blue gourami, Cosby strain

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster trichopterus (Pallas, 1770)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวแบนข้างมากเกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดพื้นลำตัวมีสีฟ้าสลับด้วยลวดลายสีฟ้าอมน้ำเงินจนถึงดำครีบอกมีลักษณะเรียวยาวคล้ายหนวดครีบหลังและครีบทวารมีก้านครีบที่แหลมคมขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาที่มีความปราดเปรียวและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพราะมีสีสวยงาม

กระดี่มุก





ชื่อไทย : กระดี่มุก

ชื่อสามัญ : Pearl gourami, leeri, Mosaic gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster leerii (Bleeker, 1852)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : หนอง บึง ลำห้วยซึ่งมีพืชพรรณไม้น้ำหนาแน่นพบเฉพาะภาคกลางและภาคใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมากพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลตามตัวมีจุดสีขาวประกระจายอยู่ทั่วไป ที่กลางลำตัวจากปากจรดโคนหางมีแถบสีดำคาดตามความยาวลำตัวโคนหางมีจุดดำข้างละ 1 จุดครีบมีลักษณะเรียวยาวคล้ายหนวดเกล็ดมีขนาดเล็กละเอีย ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงน้ำและซากพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูงเพราะมีสีสันสวยงาม มีการจัดประกวดทั้งในประเทศ (งานประมงน้อมเกล้าฯ)และต่างประเทศ เช่นในงาน Aquarama ประเทศสิงคโปร์ปัจจุบันมีการคัดพันธุ์ให้มีลักษณะลำตัวสั้นหรือ shortbody ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใน
วงการปลาสวยงาม