วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

กระดี่นาง กระเดิด





ชื่อไทย : กระดี่นาง กระเดิด

ชื่อสามัญ : Moonlight gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster microlepis (Günther, 1861)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำทั่วไป ทุกภาคของประเทศไทยและในประเทศแถบอินโดจีน

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างคล้ายคลึงกับปลากระดี่หม้อแต่ขนาดโดยเฉลี่ยจะโตกว่าบริเวณลำตัวและครีบเรียบไม่มีลายเกล็ดบริเวณลำตัวเป็นสีขาวเงิน หรือ สีฟ้าอ่อน ครีบสีขาว เกล็ดด้านข้างลำตัวมีขนาดเล็ก ครีบท้องมีก้านครีบอันแรกเปลี่ยนเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าตื้น ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 13 ซม. ปลาตัวผู้สังเกตได้จากขอบครีบท้องและขอบครีบก้นจะมีสีส้ม

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงน้ำ และซากพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำ

หางไหม้ หางเหยี่ยว หนามหลังหางดำ





ชื่อไทย : หางไหม้ หางเหยี่ยว หนามหลังหางดำ

ชื่อสามัญ : Silver shark, Bala shark, Tricolor sharkminnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balantiocheilos melanopterus (Bleeker, 1851)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเขมร ในประเทศไทยปจั จุบันหายากมาก

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสีเงิน ครีบสีเหลืองอ่อน ขอบนอกของครีบทุกครีบยกเว้นครีบอกมีขอบสีดำค่อนข้างหนา บริเวณโคนหางและโคนหลังมีสีดำจาง ๆปากเล็กไม่มีฟัน ปากยึดหดได้ ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่างขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 25 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ร่วมกับปลาชนิดอื่น ๆ ตกแต่งตู้โดยใช้ก้อนหินหรือขอนไม้ ไม่นำพรรณไม้นำมาตกแต่ง เพราะเป็นปลาที่ชอบกินพืช เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูง มีรูปร่างปราดเปรียวสวยงาม ว่ายน้ำรวดเร็วจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฉลามหางไหม้”ปัจจุบันปลาที่มีจำหน่ายในประเทศไทยเป็นปลาที่นำพ่อแม่พันธุ์มาจากประเทศอินโดนีเซียแล้วนำมาเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม

เทพา





ชื่อไทย : เทพา

ชื่อสามัญ : Chao-phya giant cat fish, Giant pangasius

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pangasius sanitwongsei Smith, 1931

ชื่อวงศ์ : Pangasiidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ ลำตัวยาวและค่อนข้างป้อม แบนข้างเล็กน้อยพื้นลำตัวมีสีเทาเงินส่วนหลังสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว บริเวณข้างตัวเหนือฐานของครีบอกมีจุดสีขาวขนาดใหญ่มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ และที่ใต้คางอีก 1 คู่ ที่ครีบอกครีบท้องและครีบหลังก้านครีบเดี่ยวจะยื่นยาวออกไปกว่าก้านครีบอื่น ๆ มาก เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนักมากกว่า100 กิโลกรัม

อาหาร : ปลาที่มีขนาดเล็กกว่า ซากสัตว์

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยก้อนหินนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รูปร่างปราดเปรียวว่ายน้ำไปมาอย่างรวดเร็ว

ปักเป้าดำ ปักเป้าตาแดง





ชื่อไทย : ปักเป้าดำ ปักเป้าตาแดง

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetraodon leiurus Bleeker, 1851

ชื่อวงศ์ : Tetraodontidae

ถิ่นอาศัย : พบปักเป้าชนิดนี้ได้ตามริมน้ำ หนอง บึง เขื่อน เกือบทั่วประเทศ

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างกลมป้อมหัวท้ายเรียว ปากเล็ก ตาโต ด้านหลังและด้านท้องมีผิวสากเป็นหนามเล็กละเอียด ด้านท้องนิ่มขยายตัวได้มาก ครีบหลังเล็กเช่นเดียวกับครีบก้น ลำตัวสีเขียวอมเทาคล้ำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีดวงหรือลายสีดำประทั่วตัว บางตัวอาจมีสีจางที่ด้านท้อง ตาแดง ครีบสีจางขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 13 ซม.

อาหาร : กุ้ง หอย แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่ตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำ

ช่อนเข็ม






ชื่อไทย : ช่อนเข็ม

ชื่อสามัญ : Pikehead

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luciocephalus pulcher (Gray, 1830)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : พบเฉพาะในถิ่นอาศัยแบบพรุดั้งเดิม ตั้งแต่พรุโต๊ะแดงถึงสุมาตราและบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างคล้ายปลาช่อน แต่ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยื่นจะงอยปากล่างยาวกว่าปากบนตาโตเกล็ดใหญ่ครีบหลังอันเล็กมีฐานสั้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายใกล้กับคอดหางครีบหางมีปลายมนครีบก้นมีฐานยาวแบ่งออกเป็นสองตอนโดยเว้าที่ตอนกลางครีบท้องเล็กมีก้านครีบอันแรกยาวเป็นเส้น ครีบอกเล็ก ตัวมีสีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลอมเขียวด้านหลังมีสีจางกว่าตอนกลางมีแถบใหญ่สีคล้ำขอบสีจางพาดจากจะงอยปากไปถึงโคนครีบหางและมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านท้องโคนครีบหางมีจุดจางสีดำขอบขาวด้านท้องสีจางครีบหลังมีสีคล้ำครีบหางมีลายสีคล้ำประครีบด้านล่างใสว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-10 ตัว หรือลอยอยู่เหนือใบไม้เพื่อนรอเหยื่อขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : แมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : ลี้ยงในตู้ขนาดเล็กตกแต่งด้วยขอนไม้และพรรณไม้น้ำเป็นปลาที่เลี้ยงค่อนนข้างยากถูกรวบรวมเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากเช่นกันจากพรุโต๊ะแดง

กัดอีสาน






ชื่อไทย : กัดอีสาน

ชื่อสามัญ : Blue betta

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betta smaragdina Ladiges,1972

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : พบในแหล่งน้ำตื้นที่นิ่ง และที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลากัดประเภทก่อหวอด มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลาง     (Betta splendens) แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาวกว่าเกล็ดมีสีเขียวมากกว่าทั้งที่ข้างแก้มและลำตัว ในบางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า ครีบมีสีเขียวหรือฟ้าและมีลายประสีดำ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 5 ซม.

อาหาร : ไรน้ำ ลูกน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงเฉพาะตัวผู้ เนื่องจากลำตัวและครีบต่าง ๆ มีสีสันสวยงาม เลี้ยงในโหลขนาดเล็ก โหลละตัว หากวางโหลใกล้กันจะแผ่กางครีบเพราะเป็นปลาที่มีนิสัยชอบการต่อสู้