วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บทนำ

ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ดังคำที่กล่าวกันมาช้านานว่า“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ปัจจุบันแม้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปจากอดีตอาชีการเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ และประมง ยังคงมีอยู่คู่คนไทย แต่วิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง เช่น การเลี้ยงปลาที่มิใช่เพียงเพื่อการบริโภคหากยังนำลักษณะเด่นและสวยงามของพันธุ์ปลาบางชนิดมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั้งเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินและเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพแล้วส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและนำเงินเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

ประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามไปสู่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปลาสวยงามน้ำจืดเขตร้อนร้อยละ 75มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆปลาสวยงามที่ส่งออกไปขายต่างประเทศมีทั้งพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยและพันธุ์ปลาสายพันธุ์ต่างประเทศที่นำเข้ามาเพื่อเพาะเลี้ยงแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ชนิดปลาสวยงามของไทยที่เป็นที่รู้จักกันมาช้านานและสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย มีหลายชนิด เช่น ปลากัด ทรงเครื่อง กาแดง ก้างพระร่วง ซิวข้างขวาน ซิวหางกรรไกร น้ำผึ้ง ปล้องอ้อย เสือตอ เสือพ่นน้ำ หางไหม้ ตะเพียนทอง กระแห เป็นต้น โดยเฉพาะปลากัดเป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลกในชื่อ “Siamese fighting fish” และเกษตรกรไทยมีความรู้ความชำนาญในเรื่อง การคัดและปรับปรุงสายพันธุ์ปลากัดจนได้ความหลากหลายของสายพันธุ์ เป็นที่นิยมกันทั่วโลก เช่น ปลากัดครีบยาว (Long- finned) หางสามเหลี่ยม (Delta-tailed) หางมงกุฏ (Crowntailed)หางพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Halfmoon-tailed) 2 หาง (Double-tailed) เป็นต้น

ปลาสวยงามของไทยหลายชนิดที่ตลาดต่างประเทศนิยมเลี้ยง เป็นปลาที่รวบรวม จากแหล่งน้ำธรรมชาติ พันธุ์ปลาบางชนิดอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อการเพาะพันธุ์และยังผลิตได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เช่น ก้างพระร่วง ซิวข้างขวาน และ ปล้องอ้อย ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้มีอยู่ใน8 100 ชนิด ปลาสวยงามของไทยแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยต่อไป โดยการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติและมีการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ปลาสวยงามไทยหลายชนิดที่เกษตรกรของไทยมีความชำนาญในการเพาะพันธุ์และกรมประมงได้มีการปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทรงเครื่อง กาแดง น้ำผึ้ง หางไหม้ ตะเพียนทอง กระแห เป็นต้น 

ชนิดปลาสวยงามที่นำมาเสนอต่อไปนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลของปลาโดยจัดเรียงตามลำดับของวงศ์ (Family) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปลาไทยสวยงามที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันและยังมีอีกจำนวนมากที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป




ขอบคุณผู้งเรียบเรียง

- สุจินต์ หนูขวัญ
- อรุณี รอดลอย
ขอบคุณภาพประกอบจาก
- อรุณี รอดลอย ชาญทอง ภู่นิยม
- ชวลิต วิทยานนท์ นณณ์ ผาณิตวงศ์

กระสูบขีด กระสูบ สูด






ชื่อไทย : กระสูบขีด กระสูบ สูด

ชื่อสามัญ : Banded shark, Transverse-bar barb, Hampala barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hampala macrolepidota Kuhl & Van Hasselt, 1823

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำ หนอง บึง ในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างกลมเพรียวยาวแบนข้างเล็กน้อยด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ลำตัวสีขาวเงินส่วนหลังมีสีคล้ำครีบมีสีแดงเรื่องขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 25 ซม. ในปลาขนาดเล็กมีแถบ2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดกลางว่ายน้ำรวดเร็วมีสีสันสวยงาม อุปนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวเลี้ยงรวมกับพันธุ์ปลาชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันได้

ทรงเครื่อง






ชื่อไทย : ทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ : Redtail sharkminnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Epalzeorhynchos bicolor (Smith, 1931)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : พบชุกชุมในแม่น้ำสายหลักทั่วทุกภาค

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวกลม ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเทาเข้มถึงดำ ท้องสีจาง ครีบดำหรือคล้ำ ยกเว้นครีบหางสีแดงสด ครีบหางเว้าลึกขนาดเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 10-12 ซม.

อาหาร : สารอินทรีย์เล็กๆตะไคร่น้ำและตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นในตู้ปลาที่มีพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบและเล็มกินตะไคร่น้ำและเศษสารอินทรีย์ในตู้ปลาเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกเพราะมีรูปร่างปราดเปรียวลำตัวสีดำคล้ำตัดกับสีแดงของครีบหาง ทำให้มองดูสวยเด่นสะดุดตา มีชื่อเรียกกันอีกชื่อว่า“ฉลามหางดำ”

ซิวใบไผ่ ซิวใบไผ่ราชินี จุกกี






ชื่อไทย : ซิวใบไผ่ ซิวใบไผ่ราชินี จุกกี

ชื่อสามัญ : Blue danio

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Devario regina (Fowler, 1934)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : น้ำตก ลำธาร ลำห้วย บริเวณใกล้น้ำตกทั่วไป

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวกลมเรียวยาวพื้นลำตัวมีสีเทาอ่อน มีเส้นสีเหลืองเข้ม 2 เส้นชัดเจนยาวตลอดลำตัว กลางตัวเป็นสีเหลือบฟ้า ท้องสีขาววาวด้านบนสีเหลืองคล้ำ มีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ที่ช่องเปิดเหงือกครีบหางใหญ่และเว้าตื้น ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลง

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

ช่อนงูเห่า ช่อนดอกจันทร์






ชื่อไทย : ช่อนงูเห่า ช่อนดอกจันทร์

ชื่อสามัญ : Great snakehead

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa marulia (Hamilton, 1822)

ชื่อวงศ์ : Channidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำสายใหญ่ๆของประเทศไทยและยังพบในประเทศอื่นๆตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงประเทศจีน

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวรูปทรงกระบอกส่วนหัวจะเรียวแหลมกว่าปลาช่อน สีลำตัวจะแตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่โดยทั่วไปมักมีสีคล้ำ เช่น ดำ น้ำตาลอมเทาหรือเทาอมเขียว ในขณะปลาอายุจะมีแถบสีส้มสดพาดไปตามความยาวลำตัวถึงโคนหางเมื่อปลาเจริญขึ้นอีกระยะหนึ่งจะมีแถบสีดำ 5-6 แถบอยู่บริเวณใต้เส้นข้างตัวบริเวณท้องจะมีส้มบริเวณฐานะเกล็ดจะมีสีคล้ำ บริเวณส่วนท้ายของลำตัวครีบหางและครีบก้นจะมีจุดสีขาว บริเวณโคนครีบหางหรือส่วนต้นของครีบหางมีจุดสีดำที่มีขอบขาวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้และทำให้ได้ชื่อว่า “ช่อนดอกจันทร์” ครีบหลังและครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางกลม ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 35 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำอื่นๆที่มีขนาดเล็กกว่า

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ที่ตกแต่งด้วยก้อนหินขอนไม้ อุปนิสัยชอบนอนนิ่งๆบนขอนไม้

แป้นแก้วยักษ์





ชื่อไทย : แป้นแก้วยักษ์

ชื่อสามัญ : Duskyfin glassy perchlet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parambassis wolffi i (Bleeker, 1851)

ชื่อวงศ์ : Ambassidae

ถิ่นอาศัย : ลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา แม่น้ำโขง และในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน และ อินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโตปากกว้าง ขากรรไกรล่างยื่นยาว ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึกครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวมัก
มีสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงินมีขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : จุลินทรีย์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำนิยมนำมาฉีดสีสะท้อนแสงเข้าบริเวณข้างลำตัวเพื่อให้มีสีสันสวยงามแล้วส่งขายต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

เฉี่ยวหิน





ชื่อไทย : เฉี่ยวหิน

ชื่อสามัญ : Moon fi sh, Silver moony

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758)

ชื่อวงศ์ : Monodactylidae

ถิ่นอาศัย : ปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยปลาเฉี่ยวหินเป็นปลาสองน้ำเมื่อยังเล็กสามารถเลี้ยงในน้ำจืดเติมเกลือเล็กน้อยแต่ปลาที่โตขึ้นจะต้องการน้ำที่มีความเค็มมากขึ้นและจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ในน้ำที่มีความเค็มใกล้เคียงกับน้ำทะเล

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างแบนลำตัวแบนข้างมากหัวเล็กปากเฉียงขึ้นฟันเล็กละเอียดนัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน พื้นลำตัวสีขาวเงินด้านหลังมีสีเขียวแกมเหลืองมีแถบดำพาดผ่านตา ครีบหลังเหลืองหรือส้มขอบคล้ำ ครีบก้นมีแถบดำ ครีบหางมีสีเหลืองจางๆขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 22 ซม.

อาหาร : กุ้ง แมลง

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดกลาง ตกแต่งด้วยก้อนหินและขอนไม้

หลด หลดจุด








ชื่อไทย : หลด หลดจุด

ชื่อสามัญ : Spotted spiny eel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macrognathus siamensis (Günther, 1861)

ชื่อวงศ์ : Mastacembelidae

ถิ่นอาศัย : ทุกภาคของประเทศไทย และในประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทาลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือไม่มีหนามแหลมที่กระดูกใต้นัยน์ตาบริเวณฐานของครีบหลังและฐานครีบก้นมีจุดดำขอบขาว แต่จำนวนจุดนี้จะไม่เท่ากันทุกตัว บริเวณฐานครีบหลัง จุดดำนี้จะอยู่เรียงกันเป็นแถวประมาณ 1-5 จุด ส่วนฐานครีบก้น อาจมี 1-2 บนฐานครีบหลังระหว่างจุดดำมีจุดขาวเล็ก ๆ อยู่กระจายเรียงกันเป็นระเบียบคั่นสลับเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในที่กำบัง จะออกจากที่กำบังเมื่อไม่มีแสงสว่างหรือออกมาเพื่อกินอาหารเทา่ นั้น โดยปกติจะมุดลงไปฝังตัวอยู่ตามพื้นโคลนหรือพื้นทรายและโผล่ปลายจะงอยปากขึ้นมาหายใจ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 35 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : ไส้เดือน หนอน กุ้ง แมลงน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกปลาขนาดเล็กที่อยู่ตามหน้าดินและพื้นทราย ปลาหลดชอบออกหากินในเวลากลางคืน

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยกรวดแม่น้ำและก้อนหินเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัว

เข็ม เข็มเผือก







ชื่อไทย : เข็ม เข็มเผือก

ชื่อสามัญ : Freshwater halfbeak, Werstling halfbeak

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dermogenys pusilla Kuhl & van Hasselt, 1823

ชื่อวงศ์ : Hemiramphidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำทั่วๆไปของประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวเกือบกลมมีส่วนแบนตรงโคนหางลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หางสีเหลือง ท้องสีขาวเหลืองฟ้า หัวเล็ก มีจะงอยปากแหลมยื่นยาวออกไป ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางกลมมนมีขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 4 ซม. ปัจจุบันมีการคัดสายพันธุ์เป็นปลาเผือกซึ่งได้รับความนิยมมากเรียกว่า “เข็มเผือก”

อาหาร : แพลงก์ตอน ตัวอ่อนแมลง ชอบว่ายหากินอยู่บริเวณใกล้ผิวน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ อุปนิสัยชอบว่ายลอยตัวบนผิวน้ำ

หมอตาล







ชื่อไทย : หมอตาล

ชื่อสามัญ : Kissing gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helostoma temminkii Cuvier, 1829

ชื่อวงศ์ : Helostomatidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน

ลักษณะทั่วไป : L รูปร่างป้อมสั้นลำตัวแบนหัวเล็กจะงอยปากสั้นทู่ปากเล็กยืดหดได้ริมฝีปากหนานัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปากมีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : สาหร่ายไรน้ำและแมลงต่างๆ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและขอนไม้

กระทิงไฟ





ชื่อไทย : กระทิงไฟ

ชื่อสามัญ : Fire eel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia Bleeker, 1850

ชื่อวงศ์ : Mastacembelidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียลักษณะทั่วไป มีลำตัวยาวคล้ายงู แบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีดำและแถบสีแดงประมาณ4-5 แถบ พาดตาความยาวลำตัว ยกเว้นส่วนท้ายลำตัวซึ่งแถบสีแดงจะไม่ค่อยติดต่อกันตลอดทำให้ดูมีลักษณะคล้ายจุดสีแดง ครีบหลัง ครีบหาง ครีบอก และครีบก้นมีสีดำ จะงอยปากยื่นยาว ที่ปลายของจะงอยปากมีจมูกลักษณะคล้ายท่อและมีช่องเปิดตรงปลายเป็นปลาขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1 เมตร

อาหาร : กุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยก้อนหินหรือขอนไม้เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัว

ภาพโดย : อรุณี รอดลอย

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ซิวแถบเหลือง ซิวแถบทอง

  



ชื่อไทย : ซิวแถบเหลือง ซิวแถบทอง

ชื่อสามัญ : Redstripe rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rasbora pauciperforata Weber & de Beaufort, 1916

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : พบที่พรุคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพรุโต๊ะแดง จนถึงประเทศมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป : มีรูปร่างลำตัวคล้ายกับปลาซิวผอมแต่ป้อมสั้นกว่า เกล็ดใหญ่ ครีบหลังและครีบก้นสั้นกว่าของปลาซิวผอม หัวและลำตัวมีสีเหลืองและมีแถบสีทองกับสีดำพาดตั้งแต่ส่วนท้ายของหัวด้านบนโดยแถบสีทองอยู่ด้านบนพาดกลางลำตัวมาจนถึงโคนครีบหาง ท้องและแก้มสีเงินวาวด้านล่างลำตัวสีจาง ครีบใส ครีบหลังและครีบหางมีสีเหลืองทองขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ เป็นปลาที่พบน้อยใน
แหล่งน้ำธรรมชาติ




แปบควาย





ชื่อไทย : แปบควาย

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paralaubuca harmandi Sauvage, 1883

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึกมีสีเหลืองอ่อนปลายครีบมีสีเข้ม เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกันขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาในกลุ่มตะเพียน ชอบว่ายเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ


ชะโอนทอง ชะโอน สยุมพร หน้าสั้น





ชื่อไทย : ชะโอนทอง ชะโอน สยุมพร หน้าสั้น

ชื่อสามัญ : Butter cat fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ompok bimaculatus (Bloch, 1797)

ชื่อวงศ์ : Bagridae

ถิ่นอาศัย : ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม่กลอง จันทบุรี พัทลุง

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลและเป็นลวดลายจาง ๆ เป็นลักษณะกระดำกระด่าง เหนือครีบอกมีจุดดำขนาดใหญ่ข้างละจุดปากเชิดขึ้น มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวหนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 22 ซม.

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ร่วมกับปลาไม่มีเกล็ดชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันจัดตู้โดยวางวัสดุตกแต่งประเภทก้อนหินหรือขอนไม้และพรรณไม้น้ำเพื่อให้มีที่หลบซ่อน


ช่อนทอง ช่อนเผือก ช่อน






ชื่อไทย : ช่อนทอง ช่อนเผือก ช่อน

ชื่อสามัญ : Snakehead fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa striata (Bloch, 1797)

ชื่อวงศ์ : Channidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวกลมยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ปากกว้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวไปจนเกือบติดครีบหาง ครีบหางกลม พื้นลำตัวสีทอง เป็นปลาสวยงามที่คัดสายพันธุ์มาจากปลาช่อนพื้นเมืองของไทย ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 35 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่ตกแต่งด้วยกรวดแม่น้ำและก้อนหิน

สร้อยขาว





ชื่อไทย : สร้อยขาว

ชื่อสามัญ : Jullien’s mud carp, Siamese mud carp

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Henicorhynchus siamensis (Sauvage, 1881)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงทั่วทุกภาคของประเทศ

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก กึ่งกลางของริมปากล่างมีปุ่มกระดูกยื่นออกมาซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในสกุลนี้ ไม่มีหนวดขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 18 ซม.

อาหาร : พืชน้ำและแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดกลาง สีสันไม่เด่นสะดุดตา จึงควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีสีสัน เช่น ปลากระแห ตะเพียนทอง

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

หมอแคระแม่น้ำแคว






ชื่อไทย : หมอแคระแม่น้ำแคว

ชื่อสามัญ : Khwae badis

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Badis khwae Kullander & Britz, 2002

ชื่อวงศ์ : Badidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะลำตัวเพรียวยาว แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมขาว มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลังและครีบก้นยาวเลยโคนหาง ครีบทุกครีบมีสีเหลืองอมส้ม ครีบหลังมีแถบสีดำตามความยาวครีบ และมีแต้มสีดำบริเวณโคนครีบ ขอบครีบขาว ครีบก้นมีลักษณะคล้ายครีบหลังแต่ไม่มีแต้มสีดำ ครีบหางกลมปลายตัดมีแถบสีดำพาดขวางโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำขนาดเล็กแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เป็นปลาขนาดเล็กเลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ

เสือพ่นน้ำเสือ





ชื่อไทย : เสือพ่นน้ำเสือ

ชื่อสามัญ : Archer fish, Largescale archer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toxotes chatareus (Hamilton, 1822)

ชื่อวงศ์ : Toxotidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและแหล่งน้ำที่มีทางติดต่อกับทะเล อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่เป็นน้ำกร่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสั้นป้อมแบนข้างมาก แนวสันหลังจากจะงอยปากถึงหน้าครีบหลังเกือบเป็นเส้นตรงปากเฉียงขึ้นข้างบนตาอยู่ใกล้แนวสันหลังมีรอยประสีดำบริเวณส่วนครึ่งบนลำตัว 5-6 แต้ม ขอบครีบหลังและครีบก้นมีสีดำขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 25 ซม. เป็นปลาที่ชอบว่ายอยู่ผิวน้ำ มีความสามารถพ่นน้ำไปได้ไกลๆเพื่อล่าแมลงต่างๆมาเป็นอาหารการพ่นน้ำทำได้โดยแรงกดดันอย่างรวดเร็วของแผ่นปิดเหงือกและร่องแคบๆใต้เพดานปากเมื่อพ่นน้ำโดนแมลงจนตกลงไปในน้ำจึงจะว่ายไปกินอย่างรวดเร็ว

อาหาร : แมลงน้ำแพลงก์ตอนตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดกลางตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำสามารถเลี้ยงและให้พ่นน้ำจับแมลงในบ่อแบบ touch pool หรือในตู้ได้

ปลาปักเป้าซีลอน





ชื่อไทย : ปลาปักเป้าซีลอน

ชื่อสามัญ : Palembang puffer, Figure-eight puffer, Eyespot puffer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetraodon biocellatus Tirant, 1885

ชื่อวงศ์ : Tetraodontidae

ถิ่นอาศัย : ชายทะเลและปากแม่น้ำในเขตน้ำกร่อย

ลักษณะ : รูปร่างหน้าตาจะคล้ายกับปักเป้าเขียวจุดมากแต่มีขนาดเล็กกว่าพื้นลำตัวสีดำหรือน้ำเงินปนดำ บนหลังมีลายเหลืองเป็นรูปเลข 8 ใต้ครีบหลังมีวงกลมเหลืองมุมปากและโคนหางมีจุดดำแห่งละ 1 จุดขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : กุ้ง หอย แมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่ตกแต่งด้วยก้อนหินและพรรณไม้น้ำนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อให้กินหอยที่ติดมากับพรรณไม้น้ำและแพร่พันธุ์ในตู้ปลาหรือเลี้ยงเพื่อให้กินหอยในบ่อชำน้ำของพรรณไม้น้ำ

กระดี่นางฟ้า





ชื่อไทย : กระดี่นางฟ้า

ชื่อสามัญ : Blue gourami, Cosby strain

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster trichopterus (Pallas, 1770)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวแบนข้างมากเกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดพื้นลำตัวมีสีฟ้าสลับด้วยลวดลายสีฟ้าอมน้ำเงินจนถึงดำครีบอกมีลักษณะเรียวยาวคล้ายหนวดครีบหลังและครีบทวารมีก้านครีบที่แหลมคมขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาที่มีความปราดเปรียวและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเพราะมีสีสวยงาม

กระดี่มุก





ชื่อไทย : กระดี่มุก

ชื่อสามัญ : Pearl gourami, leeri, Mosaic gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichogaster leerii (Bleeker, 1852)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : หนอง บึง ลำห้วยซึ่งมีพืชพรรณไม้น้ำหนาแน่นพบเฉพาะภาคกลางและภาคใต้

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมากพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลตามตัวมีจุดสีขาวประกระจายอยู่ทั่วไป ที่กลางลำตัวจากปากจรดโคนหางมีแถบสีดำคาดตามความยาวลำตัวโคนหางมีจุดดำข้างละ 1 จุดครีบมีลักษณะเรียวยาวคล้ายหนวดเกล็ดมีขนาดเล็กละเอีย ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงน้ำและซากพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูงเพราะมีสีสันสวยงาม มีการจัดประกวดทั้งในประเทศ (งานประมงน้อมเกล้าฯ)และต่างประเทศ เช่นในงาน Aquarama ประเทศสิงคโปร์ปัจจุบันมีการคัดพันธุ์ให้มีลักษณะลำตัวสั้นหรือ shortbody ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใน
วงการปลาสวยงาม

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

รากกล้วย ซ่อนทราย






ชื่อไทย : รากกล้วย ซ่อนทราย

ชื่อสามัญ : Horseface loach, Long-nose loach

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acantopsis choirorhynchos (Bleeker, 1854)

ชื่อวงศ์ : Cobitidae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำลำธารหรืออ่างเก็บน้ำทุกภาคของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียอินโดนีเซียและพม่า

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาวตามแนวสันหลังมีแถบสั้น ๆ สีน้ำตาลดำพาดขวางประมาณ 10 แถบตามแนวเส้นข้างตัวมีแถบสีน้ำตาลขนาดเล็กพาดไปตามความยาวลำตัวข้างละ 1 แถบ มีจุดสีน้ำตาล 8-12 จุด เรียงไปตามความยาวของแนวเส้นข้างตัว หัวมีขนาดใหญ่เรียวแหลมและแบนข้างตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัวบริเวณหน้าตามีหนามแหลมเล็กๆปลายแยกเป็นสองแฉกซ่อนอยู่ในร่องใต้ผิวหนังจะงอยปากค่อนข้างยาวแหลมและงุ้มต่ำมีหนวดสั้นๆ3 คู่ ครีบหลังและครีบหางมีสีน้ำตาลอ่อนครีบอื่นๆใสไม่มีสีครีบต่างๆไม่มีก้านครีบแข็งครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-4 อัน ก้านครีบแขนง 10 อัน ครีบก้นมีขนาดเล็กครีบหางเว้าไม่ลึก 8-10 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ25 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอน ไรน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กร่วมกับปลาชนิดอื่นที่ไม่ก้าวร้าว อุปนิสัยชอบนอนนิ่ง ๆ
บนพื้นทราย

กระทุงเหว กระทุงเหวเมือง สบธง







ชื่อไทย : กระทุงเหว กระทุงเหวเมือง สบธง

ชื่อสามัญ : Freshwater gar fish, Round-tail garfi sh

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xenentodon cancila (Hamilton.1822)

ชื่อวงศ์ : Belonidae

ถิ่นอาศัย : ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำ

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอกเกล็ดเล็กจะงอยปากยื่นยาวแหลมตอนปลายของจะงอยปากมีสีแดงเป็นแต้มมีฟันซี่แหลมเล็กบนขากรรไกรทั้งสองครีบอกใหญ่ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระโดดพ้นผิวน้ำได้ครีบท้องเล็กครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อยตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดงลำตัวของปลากระทุงเหวมีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองขุ่นด้านบนมีสีเขียวอ่อนด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหางครีบใสด้านท้องสีขาว ปลาวัยอ่อนมีลายประสีคล้ำบนตัวขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 25 ซม. มักว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำและว่องไวมาก

อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้งและแมลง มักจะใช้จะงอยปากคีบจับอย่างว่องไว

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดกลางที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ

ก้างพระร่วง





ชื่อไทย :ก้างพระร่วง

ชื่อสามัญ : Glass cat fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kryptopterus bicirrhis (Valenciennes, 1840)

ชื่อวงศ์ : Siluridae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำไหล แหล่งน้ำตามธรรมชาติในภาคกลางพบที่จังหวัดนครนายก
จันทบุรี และตราด ทางภาคใต้พบแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวแบนข้าง มีหนวด 2 คู่หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบนมีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้นอยู่บนขากรรไกรล่างครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็นครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหางหัวมีขนาดเล็กจะงอยปากสั้นตากลมโตเนื้อปลาจะมีลักษณะโปร่งแสงทำให้มองเห็นก้างภายในตัวได้อย่างชัดเจนเฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสงขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 8 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 15 ซม.

อาหาร : ไรน้ำแพลงก์ตอนสัตว์

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงปัจจุบันการส่งออกยังมีการรวบรวมจากธรรมชาติเนื่องจากไม่สามารถเพาะพันธุ์ให้ได้ในปริมาณมาก

หนวดพราหมณ์






ชื่อไทย : หนวดพราหมณ์

ชื่อสามัญ : Paradise thread fin

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polynemus paradiseus Linnaeus, 1758

ชื่อวงศ์ : Polynemidae

ถิ่นอาศัย : พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป : มีส่วนหัวขนาดเล็กตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุมปากกว้างมีฟันซี่เล็กละเอียดบนขากรรไกรลำตัวแบนข้างครีบอกยาวส่วนที่เป็นเส้นยาวมีความยาวมากกว่าลำตัวถึง 2 เท่าโดยเฉพาะเส้นบนมีทั้งหมดข้างละ 10 เส้น ครีบหางเว้าลึกปลายแหลมเกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลามตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อหัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อครีบสีจางด้านท้องสีจางขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม. ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 20 ซม.

อาหาร : สัตว์น้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่เพราะต้องการพื้นที่ในการว่ายน้ำมากเป็นปลาสวยงาม
ที่มีความโดดเด่นบริเวณครีบอกที่เป็นเส้นยาวออกมาตลาดต่างประเทศมีความต้องการแต่ยังมีปัญหาเรื่องการขนส่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความระมัดระวังในการส่งออก

กริมสี







ชื่อไทย : กริมสี

ชื่อสามัญ : Pygmy gourami

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichopsis pumila (Arnold, 1936)

ชื่อวงศ์ : Osphronemidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำตั้งแต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำโขงตอนล่างและบริเวณพรุในภาคตะวันออก

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวแบนข้างส่วนหัวเรียว ปากเล็ก ตาโต เกล็ดเล็ก ครีบหลังเรียวครีบหางปลายแหลมมีก้านครีบเป็นเส้นเรียวครีบก้นมีฐานครีบยาวครีบท้องเป็นเส้นยาวลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีคล้ำพาดตามยาวตั้งแต่ปลายปากถึงโคนหางมีจุดประสีแดงส้มหรือน้ำตาลแดงบนครีบต่างๆและลำตัว และมีจุดเหลือบสีฟ้าสดหรือเขียวอ่อนบนลำตัวขอบตามีสีฟ้าวาวด้านท้องสีจางขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ4.5 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 3 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนพืช พืชน้ำขนาดเล็กตัวอ่อนแมลงน้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่ตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำ

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ซิวข้างขวานเล็ก






ชื่อไทย : ซิวข้างขวานเล็ก

ชื่อสามัญ : Lambchop rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonostigma espei (Meinken, 1967)

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำไหลเชี่ยวในภาคใต้ป่าพรุโต๊ะแดงจังหวัดนราธิวาสและบริเวณน้ำตกในภาคตะวันออกของไทย

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาขนาดเล็ก พื้นลำตัวสีเทาเงินกลางลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดงและกึ่งกลางลำตัวถึงโคนครีบหางมีแถบสามเหลี่ยมสีดำโดยฐานสามเหลี่ยมอยู่ที่กึ่งกลางลำตัวปลายสามเหลี่ยมเรียวเล็กไปทางโคนหางลักษณะคล้ายขวาน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีก้านครีบบางส่วนเป็นสีแดงอ่อนหรือสีส้มโคนครีบหางก็มีสีแดงอ่อนหรือสีส้มปลาตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมียและขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวเมียขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 2.5 ซม. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงว่ายน้ำตลอดเวลา

อาหาร : แพลงก์ตอน พืชน้ำ และตัวอ่อนแมลงน้ำ

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดต่างประเทศ

Scissortail rasbora, Three-lined rasbora





ชื่อสามัญ : Scissortail rasbora, Three-lined rasbora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rasbora trilineata Steindacher, 1870

ชื่อวงศ์ : Cyprinidae

ถิ่นอาศัย : อาศัยเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กลองกับแม่น้ำโขงและภาคใต้ จนถึงอินโดนีเซียพบบ่อยในพื้นที่พรุ

ลักษณะทั่วไป : ลำตัวยาวเรียวและแบนข้างเล็กน้อยส่วนหัวและปากมีขนาดเล็กไม่มีหนวดลำตัวมีสีเขียวอ่อน ส่วนล่างของลำตัวมีสีซีดกว่าบริเวณด้านข้างและด้านหลังของลำตัวกลางลำตัวมีแถบสีดำพาดจากหัวถึงโคนหางและยาวเลยไปถึงส่วนของก้านครีบหางด้วยเหนือแถบสีดำมีแถบสีเงินเล็กๆข้างละ 1 แถบพาดขนานไปกับแถบสีดำนี้เหนือฐานครีบก้นมีแถบสีดำเล็กๆข้างละแถบ ตอนปลายของแถบทั้งสองนี้จะไปชนกันบริเวณปลายฐานครีบก้นแล้วยาวเลยไปถึงโคนครีบหางปลาชนิดนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ครีบหางเนื่องจากมีแถบสีดำพาดขวางแพนหางทั้งบนและล่างซึ่งแถบสีดำนี้อยู่ค่อนไปทางส่วนปลายของแพนหางขอบในและขอบนอกของแถบสีดำนี้มีแถบสีขาวพาดขนานคู่กันไปอีกด้วยสีดำและสีขาวนี้จะตัดกับสีเหลืองอ่อนซึ่งเป็นสีพื้นของครีบหางสวยสะดุดตามากครีบหลังมีก้านครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนครีบก้นครีบท้องและครีบอกใสไม่มีสีขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 13 ซม.ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 6 ซม.

อาหาร : แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ปลาขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ

แขยงนวล






ชื่อไทย : แขยงนวล

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mystus wolf fi (Bleeker, 1851)

ชื่อวงศ์ : Bagridae

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตาปีและในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พบทั้งในบริเวณแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย

ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดเล็กมีรูปร่างค่อนข้างสั้นส่วนหัวโตปากเล็กมีหนวด 4 คู่ ครีบอกและครีบหลังเป็นก้านแข็งครีบไขมันค่อนข้างสั้นครีบหางเว้าลึกลำตัวมีสีเทาเขียวมะกอกหรือเหลืองทองด้านท้องสีเขียวอ่อน ขนาดที่พบใหญ่สุด 20 ซม. ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 12 ซม.
อาหาร : ปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย

การเลี้ยงในตู้ปลา : เลี้ยงในตู้ร่วมกับปลาไม่มีเกล็ดชนิดอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันจัดตู้โดยวางวัสดุตกแต่งประเภทก้อนหินหรือขอนไม้เพื่อให้มีที่หลบซ่อน